|
|||||||||||
![]() |
"ผมขอนำคำสอนธรรมของ" "ท่านปัญญานันทะภิกขุ" "( พระพรหมมังคลาจารย์ )" "ในหัวข้อ" " การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง " "ธรรมะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างไร เพื่อความเจริญแพร่หลายแห่งธรรมและความเจริญงอกงามแห่งปัญญา" "การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง" "ธรรมะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างไร?" "ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย" "ณ บัดนี้ ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยขน์อันเกิดขึ้นตามสมควรแก่เวลา" "ทุกข์ : สิ่งที่แก้ไขได้" "วันนี้ มีนักเรียนมาฟังกันจำนวนมาก ญาติโยมก็มาด้วย นาน ๆ มากันสักทีหนึ่ง มารับสิ่งที่เป็นประโยขน์แก่ชีวิต เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป เพราะว่าในชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ย่อมมีเรื่องมีปัญหาเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนขึ้นบ่อย ๆ" "ความทุกข์ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรานั้น มันเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ ไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ แก้ไขได้ก็ต้องใช้สติปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาในปัญหานั้น ๆ" "ดับทุกข์ด้วยปัญญา" "คนเราที่คิดอะไรแล้วมีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ก็เพราะว่าไม่รู้ว่าเราคิดอะไร และผลของความคิดนั้นมันเป็นอย่างไร เราไม่คิดให้เข้าใจ เอาแต่ทุกข์ ๆ เรื่อยไป เหมือนกับคนที่ไปกอดเสาไว้ กอดเสาแล้วร้องบอกว่าเอาไม่ออก ๆ ความจริงนั้น มันเอาออกง่าย คือปลดมือออกมันก็ออกแล้ว แต่ว่าเอาไม่ออกไปกอดแล้วก็ร้องดัง ๆ อยู่อย่างนั้นเอง" "เราทั้งหลายก็เหมือนกันนั่นแหละ เวลาเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจในปัญหาอะไรก็ตาม เพราะเราไปคิดอยู่แต่เรื่องนั้น ไม่รู้จักคิดด้วยปัญญา แต่คิดด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องนั้น เมื่อคิดด้วยความไม่มีปัญญามันก็เป็นทุกข์ แต่ถ้าคิดด้วยปัญญาแล้วเราก็จะไม่มีความทุกข์ เพราะการคิดด้วยปัญญานั้น เป็นการคิดเพื่อค้นหาในเนื้อเรื่องของสิ่งนั่นให้มันถูกต้อง เพื่อให้รู้เหตุรู้ผลของเรื่องนั้น รู้คุณรู้โทษของเรื่องนั้น แล้วเราควรจะออกจากเรื่องนั้นอย่างไร อย่างนี้เรียกว่าคิดด้วยปัญญา ถ้าคิดด้วยปัญญามันก็ไม่ทุกข์" "อย่าคิดด้วยความเสียดาย อาลัย" "เรื่องเก่า ๆ ที่เป็นอดีตนี่ พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า อย่าเอามาคิด อย่าเอามาคิดด้วยความอาลัย คิดด้วยความอาลัยก็คือ คิดด้วยความเสียดาย เสียใจในเรื่องนั้น ๆ ที่มันเกิดขึ้น" "เช่นว่าทรัพย์ของเราเคยมีอยู่ อยู่กับเรา แล้วมันก็สูญหายไปด้วยอะไรก็ตาม ขโมยมาเอาไปเสีย หรือว่ามันแตก มันหายไป แล้วเราก็คิดถึงสิ่งนั้นด้วยความอาลัย คือหมายความว่าเสียดายในสิ่งนั้นว่ามันไม่น่าจะแตก ไม่น่าจะหาย ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้" "นี่เขาเรียกว่าคิดด้วยความอาลัย คิดแล้วมันก็เสียใจ เสียดายในสิ่งนั้น ๆ แล้วเราได้อะไรบ้าง" "ทุกข์เพราะไม่เข้าใจ" "อริยสัจ" "ลองคิดต่อไปว่า เมื่อเราคิดอย่างนั้นแล้วเราได้อะไรบ้าง เราไม่ได้อะไร นอกจากว่าได้ความกลุ้มใจ ได้ความทุกข์ในใจของเรา แล้วการที่เราได้ความทุกข์ใจได้ความกลุ้มใจ มันเป็นประโยชน์อะไรแก่เราบ้าง ลองคิดดูให้ดี ถ้าคิดดูให้ดีแล้วก็เห็นว่าไม่ได้เรื่อง แล้วทำไมเราไปคิดแต่เรื่องนั้น เพราะเราไม่รู้ไม่เข้าใจนั่นเองจึงได้คิดอยู่ในเรื่องอย่างนั้น" "เหมือนกับคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องอริยสัจ คือเรื่องความทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับทุกข์ได้ และเรื่องข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราและพวกเธอจงได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ เป็นจำนวนนานหลายกัปหลายกัลป์" "อันนี้เป็นพระดำรัสที่น่าฟัง คือน่าฟังว่าการที่เรามาเวียนว่ายอยู่ในกระแสของความทุกข์ด้วยประการต่าง ๆ นั้น เพราะไม่เข้าใจในเรื่องของความทุกข์ให้ถูกต้อง ไม่เข้าใจเรื่องเหตุของความทุกข์ ไม่เข้าใจว่าทุกข์นี่เป็นเรื่องที่แก้ไขได้ และไม่เข้าใจว่าจะแก้ไขอย่างไร อย่างนี้เรียกว่า ถูกอวิชชา คือ ความไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องนี้เข้าครอบงำจิตใจ เราก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา" "เกิดปัญญาเมื่อรู้จักตัวเอง" "แต่ว่าเมื่อใดเราเกิดปัญญาขึ้นมาในเรื่องนั้น หรือเกิดความรู้สึกตัวขึ้นมาด้วยตัวเองว่าเรานี่มันหลงใหลไม่เข้าเรื่อง เรายึดถือในสิ่งไม่เข้าเรื่อง เราไปคิดในเรื่องที่ไม่น่าจะคิด นึกขึ้นมาได้ พอนึกขึ้นมาได้มันก็เกิดปัญญาขึ้นมา เหมือนกับคนที่เดินทางผิดนี่ พอรู้ตัวว่าเราเดินทางผิดเสียแล้ว ก็คงจะหยุดถอยหลังกลับไปหาทางที่ถูกต้องต่อไป" "ในชีวิตของเรานี้ก็เหมือนกัน ที่หลงผิดไปคิดไปนั่งกลุ้มใจไปด้วยเรื่องอะไรต่าง ๆ อย่างมากนั้น ก็เพราะเรายังนึกไม่ได้ ยังไม่รู้จักตัวเองถูกต้อง ยังไม่รู้ว่าอะไรมันอยู่ในใจของเรา ยังไม่รู้ว่าไอ้สิ่งนั้นมันดับได้ แก้ได้หรือไม่ ยังเข้าใจผิดอยู่ แต่เมื่อใดเกิดความรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องพอแก้ไขได้ ไม่ใช่แก้ไม่ได้ มันไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัย แต่เราจะแก้อย่างไร ก็ต้องหาทางแก้ไขต่อไป" "พระพุทธองค์ผู้บุกเบิกเพื่อมนุษยโลก" "ความจริงเรื่องอย่างนี้ ไม่ใช่เรื่องลำบากสำหรับพวกเราแล้ว พระผู้มีพระภาคซิทรงลำบากมาก ทรงลำบากเพราะว่าต้องไปนั่งคิดนั่งค้นคลำหาทางด้วยพระองค์เองอยู่ที่ในป่า ต้องใช้เวลานานเหลือเกิน เราควรจะเรียกพระองค์ว่าเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องนี้โดยเฉพาะ บุกเบิกในเรื่องนี้" "คนที่บุกเบิกนี่มันต้องเหน็ดเหนื่อย ต้องลำบากไม่ใช่น้อย เหมือนบุกเบิกไปสร้างบ้านสร้างเมืองในป่า มันก็ลำบาก คนอเมริกันยุคแรกที่ไปอยู่ในอเมริกา เขาเรียกว่ารุ่นบุกเบิก เพราะว่าต้องไปต่อสู้กับปัญหานานาประการ คนที่อยู่ในสมัยนี้นั้นสบายแล้ว สะดวกทุกประการ แต่คนสมัยบุกเบิกนั้นต้องต่อสู้กับปัญหานานาชนิด แต่เขาสู้ด้วยปัญญา เขาจึงเอาตัวรอดมาได้ หรือว่าชาวเกาะออสเตรเลียก็เหมือนกัน เมื่อไปอยู่ใหม่ ๆ ก็ต้องผจญภัยกับสิ่งต่าง ๆ กับคนป่า กับเชื้อโรค กับสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะมี มันก็เกิดขึ้น ต้องลำบากไม่ใช่น้อย" ธรรมะนำไปสู่ทางที่ถูกที่ชอบ:: อ่านต่อนะครับ |
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |