|
|||||||||||
![]() |
ผมขออนุญาตอ้างอิงจากหนังสือธรรมแจกทานจากท่านผู้มีพระคุณทั้งหลายครับ ผมหวังเป็นธรรมทานเพื่อท่านทั้งหลายรวมถึงทุกท่านในครอบครัวของผมและตัวผมด้วยครับ ผมขอกราบบูชาคุณความดีและขออนุญาตนำคำสั่งสอนของ "ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต" "( ตรึก ธัมมวิตักโกภิกขุ )" ในบทความคำสอนเกี่ยวกับ สันติสุข ดังนี้ครับ " สันติวรบท" "๔. สันติสุข" "พระพุทธเจ้าสอนว่า" " นัตถิ สันติ ปรัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี " หมายความว่า ความสุขอื่นมี เช่น ความสุขในการดูละคร ดูหนัง ในการเข้าสังคม Social ในการมีคู่รักคู่ครอง หรือ ในการมีลาภยศ ได้รับความสุข สรรเสริญ และได้รับความสุขจากสิ่งเหล่านี้ ก็สุขจริง" "แต่ว่า สุขเหล่านี้มีทุกข์ร้อนอยู่ทุกอย่างต้องคอยแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ ไม่เหมือนกับความสุข ที่เกิดจากสันติ ความสงบ ซึ่งเป็นความสุขที่เยือกเย็นและไม่ซ้อนด้วยความทุกข์ และไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงตกแต่งมาก" "เป็นความสุขที่ทำได้ง่ายๆ" "เกิดกับกายใจของเรานี่เอง" "อยู่ในที่เงียบๆคนเดียว ก็ทำได้" "หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมสังคมก็ทำได้ ถ้าเรารู้จักแยก ใจ หาสันติสุข กายนี้ก็เพียงสักแต่ว่าอยู่ในที่ระคนด้วยความยุ่ง สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นไม่ยุ่งถึง ใจ" "แม้เวลาเจ็บหนัก มีทุกขเวทนาปวดร้าวไปทั่วกาย แต่เรารู้จักทำ ใจ ให้เป็นสันติสุขได้ ความเจ็บนั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ ใจ เดือดร้อนตามไปด้วย" "เมื่อ ใจ สงบแล้ว กลับจะทำให้กายนั้นสงบ หายทุกขเวทนาได้ด้วย และประสบสันติสุข ซึ่งไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่าสันติสุขนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ฝึกเป็น ๓ ทาง คือ" "๑. ทรงสอนให้สงบกาย วาจา ด้วย ศีล ไม่ทำโทษทุจริตอย่างหยาบที่เกิดทางกาย วาจา เป็นเหตุให้เกิดสันติสุขทางกาย วาจา เป็นประการต้น" "๒. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทางใจ ด้วย สมาธิ หัดใจไม่ให้คิดถึงเรื่อง ความกำหนัด" "ความโกรธ" "ความโลภ" "ความหลง" "ความกลัว" "ความฟุ้งซ่านรำคาญ" "ความลังเลใจ ทำให้ใจไม่เด็ดเดี่ยว ไม่เด็ดขาด เมื่อละสิ่งเหล่านี้ได้ เป็นเหตุให้ใจสงบ เป็นสันติสุขทางจิตใจอีกประการหนึ่ง" "๓. ทรงสอนให้ฝึกหัดให้เกิดสันติสุขทาง ทิฏฐิ ความเห็นด้วย ปัญญา พิจารณาให้เห็นว่า" "สรรพสิ่งทั้งหลายไม่แน่นอน เป็น อนิจจัง ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องเสื่อมสิ้น แปรปรวน ดับไป เรียกว่าเป็น ทุกข์" "ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา อ้อนวอน ขอร้อง เร่งรัด ให้เป็นไปตามความประสงค์ ท่านเรียกว่า อนัตตา" "เมื่อเรารู้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้ จะทำให้จิตใจของเราเข้มแข็ง มั่นคง เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ทั้งหลาย" "เพราะรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านั้นมันไม่แน่นอน มันคงอยู่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงเสื่อมสิ้นดับไป" "ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาฝ่าฝืนของเรา" "อย่าไปเร่งรัดให้เสียกำลังใจ" "จงรักษาใจให้เป็นอิสระมั่นคงอยู่เสมอ" "ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์เหล่านั้น" "เป็นเหตุให้ใจตั้งอยู่ในสันติสุข" "เป็นอิสระ เกิดอำนาจทางจิต Mind Power ที่จะใช้ทำกรณียะอันเป็นหน้าที่ของตนได้สำเร็จสมประสงค์" " นัตถิ สันติ ปรัง สุขัง" "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี " "It needs a Peaceful Mind to support a Peaceful Body, and it needs a Peaceful Body to support a Peaceful Mind, and it needs both Peaceful Body and Mind to attain all success that which you wish." " สันติวรบท" "โอวาท" "ของ" "ท่าน ธัมมวิตักโกภิกขุ" "๙. " ทำดี ดีกว่าขอพร " " จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ นะ !" "เตือนให้เตรียมตัวไว้ดำเนินชีวิตต่อไป เป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุดประกอบด้วยเหตุผล เมื่อทำกรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำชั่วแล้วจะมาเสกสรรปั้นแต่ง อวยพรอย่างไรก็ดีไม่ได้ ทำชั่วเหมือนโยนหินลงน้ำ หินจะต้องจมทันที ไม่มีผู้วิเศษใด ๆ จะมาเสกเป่าอวยพร อ้อนวอนขอร้องให้หินลอยขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วจะต้องล่มจมป่นปี้เสียราศี เกียรติคุณ ชื่อเสียง เหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ ทำดีเหมือนน้ำมันเบา เมื่อเทลงน้ำ ย่อมลอยเป็นประกายมันปลาบอยู่เหนือน้ำ" "ทำกรรมดี ย่อมมีสง่าราศี มีเกียรติคุณ ชื่อเสียง มีแต่คนเคารพนับถือยกย่องบูชาเฟื่องฟุ้งลอยน้ำ เหมือนน้ำมันลอย ถึงจะมีศัตรูหมู่ร้ายจงใจเกลียดชังมุ่งร้าย อิจฉา ริษยา แช่งด่าให้จมก็ไม่สามารถจะเป็นไปได้ กลับจะแพ้เป็นภัยแก่ตัวเอง ขอให้จงตั้งใจกล้าหาญ พยายามทำแต่กรรมดี ๆ โดยไม่มีความเกรงกลัวหวั่นไหวต่ออุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้ที่มีความเลื่อมใสในคุณพระรัตนตรัย ผู้ที่มีโชคดี ผู้ที่มีความสุขและผู้ที่มีความเจริญ ประสงค์ใดสำเร็จสมประสงค์ ก็คือผู้ที่ประกอบกรรมทำแต่ความดีอย่างเดียวนั่นเอง." " สันติวรบท" ๑. " PERSONAL MAGNET" "เรื่องที่มีคนเมตตากรุณา เห็นอกเห็นใจนั้น เป็นเพราะคุณธรรมความดีของตนเองหลายประการด้วยกัน เป็นต้นว่า วิริยะ อุตสาหะ บากบั่น เข้มแข็ง แรงกล้า และ จิตใจเมตตากรุณา ไม่เย่อหยิ่งจองหอง เป็นเหตุให้ผู้ที่แวดล้อมอยู่ เกิดความเมตตากรุณารักใคร่เห็นอกเห็นใจ คิดที่จะช่วยเหลือ" "คนที่มีกิริยามารยาทอ่อนโยน สุภาพ นิ่มนวล ย่อมเป็นที่เสน่หารักใคร่ของคนที่ได้พบเห็นและพยายามที่จะช่วยเหลือ นี่เป็น Personal Magnet คือเสน่ห์ในตัวของตัวเอง เพราะฉะนั้น จงพยายามรักษาคุณสมบัติดังกล่าวนี้ไว้ จะเป็นเครื่องช่วยตัวเองให้บรรลุความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ ทุกกาลเวลา ทั้งปัจจุบันและอนาคต." "๒. เมตตา" "อย่ากลัว จงรักษาตัวให้บริสุทธิ์ไม่มีอะไรทำอันตรายได้" "จงจำไว้ว่า ถ้าปรารถนาความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจจากผู้อื่น ก็ควรส่งกระแสใจที่ประกอบด้วยความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจไปยังท่านเหล่านั้น แล้วก็จะได้รับความเมตตา และความเห็นอกเห็นใจจากท่านเหล่านั้นเช่นเดียวกัน นี่เป็นกฏของจิตตานุภาพ แล้วความสำเร็จทั้งหลายที่ปรารถนา ก็จะบังเกิดแก่ตนสมประสงค์ทุกประการเป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย." "๓. สบายใจ" "คำว่า " ไม่สบายใจ " อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป " Let it go, and get it out ! " ก่อนมันจะเกิด ต้อง Let it go ! ปล่อยให้มันผ่านไปอย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้ ถ้าเผลอไปมันแอบเข้ามาอยู่ในใจได้ พอมีสติรู้สึกตัวว่าความไม่สบายใจเข้ามาแอบอยู่ในใจ ต้อง Get it out ! ขับมันออกไปทันที อย่าเลี้ยงเอาความไม่สบายใจไว้ในใจ มันจะเคยตัว ทีหลังจะเป็นคนอ่อนแอ ออดแอด ทำอะไรผิดพลาดนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ไม่สบายใจเคยตัว เพราะความไม่สบายใจนี้แหละเป็นศัตรู เป็นมาร ทำให้ใจไม่สงบ ประสาทสมองไม่ปกติ พลอยไม่สงบไม่สบายไปด้วย ทำให้สมองทึบไม่ปลอดโปร่ง เป็น Habit ความเคยชินที่ไม่ดี เป็นอุปสรรคกีดกั้นขัดขวางสติปัญญาไม่ให้ปลอดโปร่งแจ่มใส ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ ทั้งก่อนที่จะทำอะไร หรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจแช่มชื่นรื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์เป็นสุขสบายอยู่เสมอ เป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ Enjoy living มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบานสมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียน ก็เข้าใจจำได้ง่าย เหมือนดอกไม้ที่แย้มเบิกบานต้อนรับหยาดน้ำค้างและอากาศบริสุทธิ์ ฉะนั้น." "๕. ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย" " DO NO WRONG IS DO NOTHING " "จงระลึกถึงคติพจน์ว่า" " Do No wrong is do nothing ! " " ทำอะไรไม่ผิดเลย ก็คือไม่ทำอะไรเลย " "ความผิดนี้แหละ เป็นครูอย่างดี ควรจะรู้สึกบุญคุณของตัวเอง ที่ทำอะไรผิดพลาด และควรสบายใจที่ได้พบกับอาจารย์ผู้วิเศษ คือ ความผิด จะได้ตรงกับคำว่า " เจ็บแล้วต้องจำ " ตัวทำเอง ผิดเอง นี้แหละ เป็นอาจารย์ผู้วิเศษเป็น good example ตัวอย่างที่ดี เพื่อจะได้จดจำไว้สังวรระวังไม่ให้ผิดต่อไป แล้วตั้งต้นใหม่ด้วยความไม่เลินเล่อเผลอประมาท แต่อาจารย์ผู้วิเศษยังคงอยู่คอยกระซิบเตือนใจอยู่เสมอทุกขณะว่า" " ระวัง ! อย่าประมาทนะ ! อย่าให้ผิดพลาดเช่นนั้นอีกนะ ! " "ผิดหนึ่งพึงจดไว้ ในสมอง" "เร่งระวังผิดสอง ภายหน้า" "สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก เพื่อนเอย" "ถึงสี่อีกทีห้า หกซ้ำอภัยไฉน !" "จงสังเกตพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเห็นได้ว่า นักค้นคว้าวิทยาศาสตร์ทางโลกก็ดี และท่านผู้วิเศษที่เป็นศาสดาจารย์ในทางธรรมทั้งหลายก็ดี ล้วนแต่ผ่านพ้นอุปสรรคความผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วนมาแล้วด้วยกันทุกท่าน" "๖. สติสัมปชัญญะ" "( ความระลึกได้ และความรู้ตัว )" "ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติ ถ้ามีสติคุ้มครองกายวาจาใจอยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติ คือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืม จึงผิดพลาด จงนึกถึงคติพจน์ว่า " กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม " "ธรรมดาชีวิตทุกชนิด ทั้งมนุษย์และสัตว์ตลอดทั้งพืชพันธุ์พฤกษาชาติ เป็นอยู่ได้ด้วยการต่อสู้ ตรงกับคำว่า " Life is fighting " " ชีวิตคือการต่อสู้ " เมื่อต่อสู้ไม่ไหวขณะใด ก็ต้องถึงที่สุดแห่งชีวิต คือ death ความตาย เพราะฉะนั้น ยังมีสติอยู่ตราบใด ถึงตายก็ตายแต่กาย เช่นกับชีวิตของพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ท่านมีสติไพบูลย์อยู่ทุกขณะจิต ท่านจึงทำอะไรไม่ผิดและถึงซึ่งอมตธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย ตรงกับคำว่า Immortal จึงเรียกว่า ปรินิพพาน คือ นามรูป สังขารร่างกายที่เรียกว่า เบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกดับไปเท่านั้น" "เพราะฉะนั้น ควรฝึกฝนสติ ( ความระลึกก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด ) สัมปชัญญะ ( รู้ตัวอยู่ทุกขณะที่กำลังทำอยู่ พูดอยู่ คิดอยู่ ) เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็มีสติตรวจตราพิจารณาดูว่า บกพร่องอย่างไร หรือเรียบร้อยบริบูรณ์ดี ถ้าบกพร่องก็รีบแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์ต่อไป ถ้าเรียบร้อยดีอยู่แล้ว ก็พยายามให้เรียบร้อยดียิ่งๆขึ้นไปจนถึงที่สุด." "๗. อานุภาพของไตรสิกขา" "คือ" "ศีล สมาธิ ปัญญา" "ด้วยอานุภาพของไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้แล จึงชนะข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบอย่างกลาง และอย่างละเอียดได้ !" "๑. ชนะความหยาบคาย ซึ่งเป็นกิเลสอย่างหยาบที่ล่วงทางกายวาจาได้ ด้วยศีล ! ชนะความยินดียินร้าย หลงรัก หลงชัง ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดในใจได้ ด้วยสมาธิ !" "ชนะความเข้าใจ รู้ผิด เห็นผิด จากความเป็นจริงของสังขาร ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดได้ ด้วย ปัญญา !" "๒. ผู้ใดศึกษาและปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ โดยพร้อมมููลบริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย !" "เพราะฉะนั้น จึงควรสนใจ เอาใจใส่ตั้งใจศึกษา และปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ทุกเมื่อเทอญ." "๘. ดอกมะลิ" "ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่ถูกรับรองแล้วว่า เป็นดอกไม้ที่หอมเย็นชื่นใจที่สุดและขาวบริสุทธิ์ที่สุดในบรรดาดอกไม้ทั้งหลาย" "ชีวิตของมนุษย์ที่เป็นอยู่ก็เช่นเดียวกับการเล่นละคร ขอให้เป็นตัวเอกที่มีชื่อเสียงที่สุดเช่นเดียวหรือลักษณะเดียวกับดอกมะลิ อย่าเป็นตัวผู้ร้ายที่เลวที่สุด และให้เห็นว่าดอกมะลินี้จะบานเต็มที่เพียง ๒-๓ วัน ก็จะเหี่ยวเฉาไป" "ฉะนั้น ขอให้ทำตัวให้ดีที่สุด เมื่อยังมีชีวืตอยู่ ให้หอมที่สุดเหมือนดอกมะลิที่เริ่มแย้มบาน ฉะนั้น" " จงเลือกทำแต่กรรมที่ดี ๆ " " สันติวรบท" "จิตตานุภาพ" "จิตตานุภาพ คือ อานุภาพของจิต แบ่งเป็น ๓ ประการ คือ" "๑. จิตตานุภาพบังคับตนเอง" "๒. จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น" "๓. จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม" "จิตตานุภาพบังคับตนเอง" " ตนของตนย่อมเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง" "เหตุนี้จึงต้องหัดบังคับตนเอง ผู้อื่นถึงจะเป็นศัตรูก็ไม่เท่าตนเป็นศัตรูต่อตนของตนเอง ถ้ายังไม่สามารถบังคับตนของตนเองให้ดีได้แล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าจะบังคับผู้อี่นให้ดีได้" "จิตตานุภาพบังคับตนเองมี ๗ ประการ" "๑. บังคับความหลับและความตื่น การหัดนอนให้หลับสนิทเป็นกำลังสำคัญยิ่งนัก เหตุที่ทำให้นอนไม่หลับมี ๒ ประการ คือ" "๑.๑ ร่างกายไม่สบายพอ" "อาหารที่ย่อยยากก็เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สบายพอ ควรนอนตะแคงข้างขวา ถ้านอนหงายก็ควรให้เอียงขวานิดหน่อย ถ้าต้องการพลิกก็ควรพลิกจากขวานิดหน่อย แล้วกลับตะแคงขวาตามเดิม นอนย่อมทำให้อวัยวะทุกส่วนพักผ่อน อย่าให้เกร็งตึงและไม่ควรตะแคงซ้าย" "๑.๒ ความคิดฟุ้งซ่าน" "เวลานอนถ้าจิตฟุ้งซ่านควรคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่อย่างเดียว ครั้นแล้วก็เลิกละไม่คิดสิ่งนั้นและไม่คิดอะไรอื่นต่อไปอีก กระทำใจให้หมดจดเหมื่อนน้ำที่ใสสะอาด" "ควรบังคับตัวให้ตื่นตรงตามเวลาที่ต้องการ ก่อนนอนต้องคิดให้แน่แน่ว สั่งตนเองให้ตื่นเวลาเท่านั้น นึกแน่วอยู่อย่างเดียวว่าจะต้องตื่นเวลาเท่านั้น เมื่อถึงเวลาก็จะตื่นได้เองตามประสงค์" "๒. ทำความคิดให้ปลอดโปร่งว่องไวในเวลาตื่นขึ้น อย่าให้เซื่องซึม " ต้องเอาความคิดในเวลาตื่นเช้าไปประสานติดต่อกับความคิดที่เราทิ้งไว้เมื่อวันวานก่อนที่จะนอนหลับ " ก่อนนอนควรจดบันทึกกิจการที่เราจะต้องทำในวันรุ่งขึ้นน้ันไว้ในกระดาษแผ่นหนึ่งเสมอ พอตื่นขึ้นก็หยิบดูเพื่อปลุกความคิดให้ตื่น" "๓. เปลี่ยนความคิดได้ตามต้องการ คือเมื่อต้องการคิดอย่างใดก็ให้คิดได้อย่างนั้น ทิ้งความคิดอื่น ๆ หมด และเมื่อไม่ต้องการคิดอีกต่อไปจะคิดเรื่องอื่นก็ให้เปลี่ยนได้ทันที และทิ้งเรื่องเก่าโดยไม่เอาเข้ามาพัวพันคือทำใจให้เป็นสมาธิอยู่ที่กิจเฉพาะหน้า การเปลี่ยนควา มคิดเป็นเหตุให้ห้องสมองมีเวลาพักชั่วคราว ทำให้สมองมีกำลังแข็งแรงขึ้น" "๔. สงบใจได้แม้เมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือประสบทุกข์ อย่าให้เสียใจหมดสติสะดุ้ง ดิ้นรนจนสิ้นปัญญาแก้ไข เกิดความท้อถอยไม่ทำอะไรต่อไป ความสงบไม่ตื้นเต้นเป็นเหตุให้เกิดปัญญาประกอบกิจให้สำเร็จได้สมหวัง เราจะแก้ไขเหตุร้ายที่เกิดขึ้นแก่เราได้นั้นก็มีทางจะทำอยู่ ๒ ขั้น" "๔.๑ ต้องสงบใจมิให้ตื่นเต้น" "๔.๒ ต้องมีความมานะพยายาม" "วิธีสงบใจที่ดีที่สุด หายใจยาวและลึก" "๕. เปลี่ยนนิสัยความเคยชินของตัวจากร้ายเข้ามาหาดี การขืนใจตัวเองชั่วขณะหนึ่งอาจเป็นผลดีแก่ตัวเองตลอดชีวิต แต่การทำตามใจตัวขณะเดียวก็อาจเป็นผลถึงกับทำลายชีวิตของเราได้เหมือนกัน" "๖. ตรวจตราตัวของตัวเป็นครั้งคราวโดยสม่ำเสมอ ให้ทราบว่ากำลังใจมั่นคงขึ้นหรือไม่ ฝ่ายกุศลเจริญขึ้นหรือไม่ ฝ่ายอกุศลลดน้อยเบาบางหมดสิ้นไปหรือไม่ ใจยังสะดุ้งดิ้นรนหวั่นไหวอยู่หรือไม่" "๗. ป้องกันรักษาตัวด้วยจิตตานุภาพ การสะดุ้งตกใจหรือเสียใจ ความกลัว เป็นเหตุให้เกิดโรคและโรคกำเริบ และเป็นเหตุให้คนดี ๆ ตายได้ คนไข้ถ้าใจดีหายเร็ว ความไม่กลัวตาย รอดอันตรายได้มากกว่ากลัวตาย ความพยายามและอดทนเป็นเหตุให้สำเร็จสมประสงค์" "จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น" "จิตตานุภาพอย่างอ่อน สามารถใช้สายตา น้ำเสียงและด้วยกระแสจิตประกอบคำพูด ซึ่งจะเป็นเครื่องจูงใจคนให้เชื่อฟัง ลักษณะไม่หวาดหวั่นครั่นครามต่อใคร ๆ นั้น ไม่ใช่ชีวิตหัวดื้อบึกบึนซึ่งไม่นับว่าเป็นจิตตานุภาพ ต้องเป็นคนสุภาพสงบเสงี่ยมเคารพนบนอบต่อบุคคลที่ควรเคารพ แต่ทว่าหัวใจของคนชนิดนั้นไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวใคร และสามารถแสดงให้เห็นว่าตัวเป็นมนุษย์คนหนึ่งอยู่ในโลก และเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิด รู้จักพูด รู้จักทำ" "คนที่สามารถเป็นนายตนเอง ไม่ตกเป็นทาสของหัวใจคนอื่น และสามารถดูดดึงหัวใจคนเข้ามาเชื่อฟังเกรงกลัวนั้น ถ้าสังเกตให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่ามี ๔ ประการ" "๑. สายตาแข็ง มีอำนาจในตัว" "๒. เสียงชัดแจ่มใส" "๓. ท่าทางสงบเสงี่ยมและเป็นสง่า" "๔. รู้จักวิธีชักจูงหัวใจคนให้หันมาเข้าในคลองความคิดของตัว" "พยายามอ่านหนังสือหน้าหนึ่งโดยไม่กระพริบตาเลย ทำให้สายตาแข็งได้ อ่านหนังสืออย่างช้า ๆ ให้ชัดถ้อยคำทุก ๆ ตัว และให้ได้ระยะเสมอกัน ทำให้เสียงชัดแจ่มใส" "เวลาพูด พยายามพูดให้เป็นจังหวะ อย่าให้ช้าบ้างเร็วบ้างและให้ชัดถ้อยคำเสมอ ไม่ให้อ้อมแอ้มหรือกลืนคำเสียคำหนึ่ง เป็นการฝึกหัดให้เสียงชัดเจนแจ่มใส" "บุคคลที่มีสง่า คือคนที่บังคับร่างกายให้อยู่ในอำนาจหัวใจได้เสมอ มีท่าทางสงบเสงี่ยมเป็นสง่าไม่แสดงอาการโกรธ เกลียด กลัว รัก เกลียด ขมขื่น ตกใจ สะดุ้ง เศร้าโศก ถ้าปรากฏไม่ทำอิริยาบถเคลื่อนไหวอันใดโดยไม่จำเป็นและโดยบอกความกำกับของใจมีหน้าตาแจ่มใส อิริยาบถสงบเสงี่ยมเป็นสง่าอยู่ทุกขณะ การเคลื่อนไหวทุกอย่างทำด้วยความหนักแน่นมั่นคง อย่าให้รวดเร็วจนเป็นการหลุกหลิก หรือผึ่งผายจนเป็นการเย่อหยิ่ง หรืออ่อนเปียกจนเป็นการเกียจคร้าน ในเวลายืนให้น้ำหนักตัวถ่วงอยู่ทั่วตัวเสมอ ไม่ให้ถ่วงแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง" "รู้จักใช้วิธีชักจูงหัวใจคนให้หันเข้ามาในคลองความคิดของเรา" "๑. หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดมีสิ่งที่จะชักจูงให้เขาละทิ้งข้อแนะนำของเรา" "๒. จูงใจเขาให้หันเข้ามาในทางที่เราต้องการทุกที" "วิธีป้องกันตัวไม่ให้จิตตานุภาพของผู้อื่นบังคับเราได้" "ให้ทำมโนคติให้เห็นประหนึ่งว่า กระแสดวงจิตของเราแผ่ซ่านป้องกันอยู่รอบตัวเรา จิตตานุภาพของผู้อื่นไม่สามารถจะเข้าถึงตัวเราได้ ให้ทำเวลาเข้านอนครั้งหนึ่ง และขณะที่อยู่ใกล้บุคคลที่เราระแวงว่าเขาจะใช้จิตตานุภาพบังคับเรา" "จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม" "เครื่องมือที่จะชักนำเอาเคราะห์ดีเข้ามาคือ ความพยายามเข้มแข็งไม่ท้อถอยหนักแน่ระมัดระวัง เชื่อแน่ในความพากเพียรบากบั่นของตัว มักจะเป็นคนเคราะห์ดีอยู่เสมอ และมีคุณสมบัติอย่างอื่นอีกคือ ความมุ่งหมายและอย่าให้นึกถึงเคราะห์ร้าย ตั้งความมุ่งก้าวหน้ามุ่งตรงไปจนบรรลุสมประสงค์" "ความมุ่งหมายจำต้องให้สูงไว้เสมอ เพื่อจะได้มีความพยายามอย่างสูงด้วย แต่การก้าวไปสู่ที่มุ่งหมายนั้นต้องก้าวอย่างระมัดระวังไม่ก้าวให้ผิด" "ควรมีความปรารถนาให้สูงอยู่เสมอ แต่ต้องระมัดระวังมิให้เดินพลาด" "การไม่ยอมแพ้เคราะห์ร้าย เป็นเหตุให้เคราะห์ร้ายพ่ายแพ้ไปเองเมื่อประสบเคราะห์" "๑. จะต้องไม่ให้ใจเสีย เชื่อมั่นในความรู้ ความสามารถของตัวรวบรวมกำลังให้พรั่งพร้อม" "๒. ตั้งความมุ่งหมายให้ดี และตกลงแน่ว่าจะมุ่งไปทางไหน" "๓. ใข้ความระมัดระวังให้มากขึ้น กุมสติให้มั่นอย่างไรก็ดีจะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมทำการต่อสู้ดังกล่าวแล้วนั้นไม่ได้เป็นอันขาด" "การต่อสู้กับเคราะห์" "๑. จะต้องสงบใจไม่ตื่นเต้นไว้ใจตัวและเชื่อแน่ว่าเรามึจิตตานุภาพเป็นเครื่องมือรวมกำลังสติปัญญาของเราให้พรั่งพร้อม เช่นเดียวกับนายเรือที่ไม่รู้จักเสียใจ รวบรวมกำลังเรือและกำลังคนให้บริบูรณ์" "๒. ต้องยึดที่หมายให้แน่น กล่าวคือ ระลึกถึงผลที่เราต้องการบรรลุนั้นให้แน่วแน่ยื่งขึ้น เปรียบเสมือนนายเรือที่ตั้งเข็มทืศให้ตรงและให้รู้แน่ว่าจะต้องการให้เรือบ่ายเบี่ยงไปทางไหน" "๓. ใช้ความระมัดระวังให้มากยิ่งกว่าเมื่อก่อนจะเกิดเหตุร้ายอีกหลายเท่า และความวินิจฉัยที่ถูกต้อง ทำการปฏิบัติของเราเหมือนอย่างหางเสือเรือที่จะช่วยให้เรือบ่ายเบี่ยงไปทางทิศที่ต้องการจะไป" "๔. ไม่สามารถจะก้าวไปข้างหน้าได้ก็อย่าถอยหลัง ให้หยุดอยู่กับที่" "๕. ให้รู้สึกว่าเคราะห์นั้นทำให้เราดีขึ้นเป็นครูของเรา เป็นผู้เตือนเรา เป็นผู้ลวงใจเรา อย่าเห็นว่าเคราะห์กรรมเป็นของเลว ไม่น่าปรารถนา ควรคิดว่าเป็นของดีที่ชอบทำให้เราเข้มแข็งมั่นคงขึ้น ให้รู้สึกเสมอว่าเราเกิดมาเรียนท้ังเคราะห์ร้ายและเคราะห์ดี เคราะห์เป็นบทเรียนของเราที่จะทำให้เรารู้แจ้งโลกแล้วจะได้พ้นโลก ดังนั้น จะไม่รู้จักเคราะห์ร้ายเลยในชีวิต" ผมขอน้อมกราบ "ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต" และท่านผู้รู้และใฝ่สันติสุขตามคำสอนของท่านเจ้าคุณด้วยครับ ผมขอให้ทุกท่านจงมีความสันติสุขกันทุกท่านนะครับ |
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |